สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” นั้น ความจริงแล้วมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ของเราที่ครองโลกอยู่ในขณะนี้คือ โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) ซึ่งเชื่อว่ามีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แต่นานมาแล้วก่อนที่สปีชีส์ โฮโม เซเปียนส์ ของเรา จะเดินทางออกจากแอฟริกา มีมนุษย์โบราณสายพันธุ์อื่น ได้ออกเดินทางและแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกด้วย หนึ่งในนั้นคือกลุ่มมนุษย์โบราณในยุโรป อย่างไรก็ตาม พวกเขาพบกับหายนะครั้งใหญ่จนสูญพันธุ์ไป
พบกะโหลกปริศนาอายุ 3 แสนปี เป็นของ “มนุษย์โบราณที่ไม่มีใครเคยรู้จัก”
หลักฐานจากฟอสซิล บรรพบุรุษมนุษย์ “อาจเคยกินกันเองเป็นอาหาร”
ฟอสซิลใหม่เผย มนุษย์ยุคแรกออกจากแอฟริกามายังเอเชียเร็วกว่าที่คาด
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายถึงหลักฐานของเหตุการณ์ “ความเย็นครั้งใหญ่” ในแอตแลนติกเหนือเมื่อประมาณ 1.1 ล้านปีก่อน ซึ่งกินเวลาราว 4,000 ปี และกวาดล้างประชากรมนุษย์โบราณที่เคยยึดครองยุโรปจนหมดสิ้น
จากการศึกษาฟอสซิลที่บในสเปน เชื่อว่าสปีชีส์ดังกล่าวคือ โฮโม อีเรกตัส (Homo erectus) ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าเป็นมนุษย์โบราณกลุ่มแรก ๆ ที่เดินทางออกไปนอกแอฟริกา สปีชีส์นี้เป็นมนุษย์โบราณกลุ่มแรกที่มีสัดส่วนร่างกายเหมือนเราและประดิษฐ์เครื่องมือหินขึ้นมา
ทีมวิจัยกล่าวว่า เหตุการณ์ความหนาวเย็นครั้งใหญ่ ซึ่งรุนแรงพอ ๆ กับยุคน้ำแข็ง ทำให้ยุโรปไม่เอื้ออำนวยต่อกลุ่มนักล่าสัตว์ในยุคแรก ๆ เนื่องจากความเย็นจัดทำให้ขาดแหล่งอาหาร
นักวิจัยกล่าวว่า มนุษย์โบราณกลุ่มนี้อาจขาดความอดทนต่อความหนาวเย็น หากไม่มีไขมันที่เพียงพอ ในขณะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างเสื้อผ้าและที่พักอาศัยที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการค้นหาวิธีการจุดไฟให้ความอบอุ่น
คริส สตริงเกอร์ นักมานุษยวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน ผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า “อาจมีการหยุดชะงักโดยสิ้นเชิงในการยึดครองยุโรปของมนุษย์ยุคแรก ซึ่งอาจเป็นระยะเวลานาน และในที่สุดประชากรใหม่ทั้งหมดก็กลับเข้ามา”
ทั้งนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า จำนวนมนุษย์โบราณที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การสูญพันธุ์จากความหนาวเย็นในภูมิภาคนี้มีมากน้อยแค่ไหน
“เรามีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนประชากร แต่แน่นอนว่าน่าจะค่อนข้างน้อยตามมาตรฐานสมัยใหม่ อย่างดีที่สุดคือ น่าจะอยู่ที่ราวหลายหมื่นคนทั่วยุโรป” สตริงเกอร์กล่าว
เหตุการณ์ความหน่าวเย็นครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้นในช่วงยุคไพลสโตซีน หรือประมาณ 2.6 ล้านถึง 11,700 ปีที่แล้ว โดยเป็นช่วงที่โลกเย็นลง
ด้าน แอ็กเซล ทิมเมอร์มันน์ นักฟิสิกส์สภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซานในเกาหลีใต้ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ตรงกันข้ามกับความเชื่อก่อนหน้านี้ การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่า การอาศัยและยึดครองยุโรปของมนุษย์นั้นไม่ต่อเนื่อง แต่ถูกคั่นด้วยการสูญพันธุ์ที่เกิดจากสภาพอากาศอย่างน้อยหนึ่งครั้ง”
จากการตรวจสอบฟอสซิลของมนุษย์และเครื่องมือหินในยุโรปชี้ว่า มีช่องว่างในการยึดครองยุโรปของมนุษย์ประมาณ 200,000 ปีในช่วงราว 1.1 ล้านปีก่อน
โครนิส เซดาคิส ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์กายภาพแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “หากเป็นเรื่องจริง แปลว่ายุโรปอาจเพิ่งถูกยึดครองอีกครั้งเมื่อประมาณ 900,000 ปีที่แล้วนี้เองโดยมนุษย์ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการหรือพฤติกรรมที่ทำให้อยู่รอดได้ในสภาวะหนาวเย็นที่มีความรุนแรง”
นักวิจัยได้เลียนแบบภูมิอากาศโลกโบราณขึ้น โดยใช้สารประกอบอินทรีย์ที่หลงเหลือจากสาหร่ายและละอองเกสรขนาดเล็กในแกนกลางตะกอนใต้ทะเลลึกที่นอกชายฝั่งของโปรตุเกส ซึ่งเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและพืชพรรณ พวกเขาทำการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อวัดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยพบว่า อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยจะลดลงประมาณ 4.5 องศาเซลเซียส
ทิมเมอร์มันน์กล่าวว่า “การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเปราะบางของสายพันธุ์มนุษย์โบราณยุคแรกต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การปรับตัวต่อสภาพอากาศที่เย็นจัด”
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจาก AFP / Getty Image